ข่าวสาร

ข่าว กิจกรรม และหลักสูตรอบรม ประกาศสำคัญที่ทุกท่านสนใจ

แนวทางการนำเข้าเมล็ดถั่วลิสงตามมาตรฐานบังคับ มกษ.4702-2557

25 Oct 2018
 1,247

แนวทางการนำเข้าเมล็ดถั่วลิสงตามมาตรฐานบังคับ มกษ.4702-2557

1.วัตถุประสงค์ เพื่อกําหนดแนวทางการนําเข้าและการตรวจสอบเมล็ดถั่วลิสงนําเข้าตามมาตรฐานบังคับ เรื่อง เมล็ดถั่วสง : ข้อกําหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน (มกษ.4702-2557) เปนไปในแนวทางเดียวกัน

2.ขอบข่ายกระบวนงานออกใบรับแจ้งการนําเข้าเมล็ดถั่วลิสง (มกษ.8-1) ตามมาตรฐานบังคับ เรื่อง เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกําหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน (มกษ.4702-2557)

3. เนื้อหาและรายละเอียดการดําเนินการ

      3.1 ขั้นตอนการแจ้งการนําเข้าสินค้าเกษตร

             1. ผู้ประกอบการยื่นคําขอ มกษ.8 โดยต้องยื่นเอกสารก่อนการนําเข้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทําการ พร้อมทั้ง แนบเอกสารผ่านระบบ TAS-License (http://tas.acfs.go.th/nsw) โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้

                  กรณีนําเข้าจากประเทศที่มีการยอมรับระบบการตรวจสอบรับรองของภาครัฐได้แก่สาธารณรัฐอินเดียเท่านั้น -ใช้ใบรับรองการส่งออกเมล็ดถั่วลิสง (Certification of Export) ที่ออกให้โดยหน่วยงาน Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority (APEDA) ซึ่งเป็นหน่วยงาน กํากับดูแลการส่งออกเมล็ดถั่วลิสงจากสาธารณรัฐอินเดียโดยตรง ดังนั้นผู้ส่งออกของอินเดียจะต้องมีเอกสารดังกล่าว จึงจะส่งออกสินค้าไปจําหน่ายยังประเทศอื่นได้ถ้าไม่มีเอกสารดังกล่าว มกอช.จะไม่รับพิจารณาคําขอทุกกรณี

                   กรณีนําเข้าจากประเทศอื่นๆที่ไม่มีการยอมรับระบบการตรวจสอบรับรองของภาครัฐ (จีน พม่าและอื่นๆยกเว้นอินเดีย)

                          1.1 ใบรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตเมล็ดถั่วลิสงจากโรงกะเทาะ หรือผู้รวบรวม หรือผู้แบ่งบรรจุ หรือคลังสินค้าแล้วแต่ลักษณะการจัดการสินค้าของผู้ส่งออกที่อยู่ในต่างประเทศ โดยใบรับรองดังกล่าวต้องมีขอบข่าย การรับรองอย่างดังอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                    -มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.4702-2557) เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกําหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน ชื่อมาตรฐานภาษาอังกฤษ Thai Agricultural Standard (TAS 4702-2014 ) Peanut Kernel : Maximum Level of Aflatoxin หรือ

                    -มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) ตามมาตรฐาน Codex General Principles of Food Hygiene หรือ

                     -มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤติ (Hazards Analysis and Critical Control Point System: HACCP) ตามมาตรฐาน Codex General Principles of Food Hygiene หรือ

                     -มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Management System: FSMS) ตามมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซี 22000 (ISO/IEC22000)

                              1.2 ใบรายงานผลการวิเคราะห์ (Test Report) หรือใบรับรองผลการวิเคราะห์ (Certificate of Afl

แสดงความคิดเห็น

กรุณาคลิก เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อการใช้งานที่ดีเยี่ยม

สมาชิกเว็บไซต์สามารถใช้งานฟีเจอร์ของเว็บไซต์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเรียนกับ iTi การส่งสมัครงาน การใช้ระบบพิกัด/คำวินิจฉัย การรับช่าวสาร อ่านเพิ่มเติม